การพัฒนาและสร้างสรรค์ศิลปะภาพสามมิติบนผนังในพื้นที่สาธารณะของชุมชนล้านนา

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 25 ธันวาคม 2562

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 5 คน 

อาจารย์มานิตย์ โกวฤทธิ์  ศิลปินสมาคมขัวศิลปะเชียงราย และ ดร.ประเสริฐ บุปผาสุก อาจารย์ประจำสาขาวิชาการพัฒนาสังคม ระดับปริญญาโท คณะสังคมศาสตร์ ศูนย์บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้ดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “ศิลปะเชิงพุทธสู่วิถีชุมชนบนผนังพื้นที่สาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่” ทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยว และการศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนและอัตลักษณ์ของท้องถิ่นนำไปสู่การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในรูปแบบภาพ 3 มิติ (3D) จำนวน 6 แห่ง คือ
1. หมู่บ้านดอนไชย อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
2. หมู่บ้านป่าตาล อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
3. หมู่บ้านแม่สูนน้อย อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
4. หมู่บ้านเหล่าพัฒนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
5. หมู่บ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
6.หมู่บ้านบ้านดง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนั้น การวิจัยครั้งนี้ได้มีการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ด้านศิลปะ (Art Workshop) ได้แก่ เวทีเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างข้าราชการ นักวิชาการ ศิลปิน ผู้นำชุมชน และชาวบ้านในชุมชน การขับเคลื่อนผลงานศิลปะไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยว และการจัดกิจกรรม “ป้ายสี แต้มฝัน ปันจินตนาการ” เพื่อให้ความรู้ในเชิงปฏิบัติการด้านศิลปะภาพ 3 มิติ (3D) แก่กลุ่มเยาวชน การใช้สื่อสารมวลชนและสื่อสารสนเทศเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของชุมชน การสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะในผนังพื้นที่สาธารณะของเมืองท่องเที่ยวทั้ง 6 แห่ง ได้นำไปสู่การสร้างสรรค์สภาพแวดล้อมชุมชนเมืองให้น่าอยู่อาศัย ใน 3 มิติคือ มิติแรก ความสวยงามและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสภาพแวดล้อม มิติที่สอง การสร้างสรรค์สัญลักษณ์สภาพแวดล้อมชุมชนด้วยงานศิลปะ ทำให้เกิดจินตภาพสาธารณะ การอนุรักษ์สถานที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชน และในมิติที่สาม การสร้างสรรค์ความยั่งยืนของสภาพแวดล้อมชุมชน โดยการพัฒนาพื้นที่สีเขียว พื้นที่ลานเมือง ลานวัฒนธรรม และถนนคนเดิน ตลอดจนการกำหนดการใช้สอยพื้นที่แบบผสมผสาน โดยภาครัฐและองค์กรท้องถิ่นให้ความสนใจในการสร้างศิลปะในพื้นที่สาธารณะของชุมชน โดยการสนับสนุนให้ศิลปะภาพ ๓ มิติเป็นจุดสังเกตที่เป็นเอกลักษณ์ (Landmark) ของชุมชน เพื่อต่อยอดสู่การท่องเที่ยวของชุมชน และการเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปะแก่ประชาชนและเยาวชนนักเรียน เป็นกิจกรรมงานสร้างสรรค์ชุมชนน่าอยู่โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างเสน่ห์ของชุมชนบนฐานทุนทางวัฒนธรรม เน้นให้คนในท้องถิ่นสามารถสร้างหรือกำหนดความเป็นท้องถิ่นออกมาได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการของคนในท้องถิ่นมากกว่าการบริหารจัดการจากภายนอกฝ่ายเดียว โดยให้ประชาชนสามารถพัฒนาท้องถิ่นได้ด้วยตัวเอง เพื่อร่วมกันสร้างชุมชนที่น่าอยู่ มีชีวิตชีวาและมีเสน่ห์ ส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการวางศิลปวัฒนธรรมเป็นศูนย์กลาง และนำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมมาล้อมรอบ ผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวในรูปแบบนี้นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์แล้ว ยังสามารถส่งต่อวัฒนธรรมไปยังคนรุ่นต่อไป

ชมภาพวาดสามมิติทางช่องสื่อประชาสัมพันธ์
 


 

ภาพวาดสามมิติ วัดวิเวกการาม บ้านแม่สูนน้อย ต.แม่สูน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่

 

ภาพวาดสามมิติ วัดป่าตาล ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่

 

วิดิทัศน์

 

ภาพวาดสามมิติ บ้านเหล่าพัฒนา ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย

 

วิดิทัศน์

 

ภาพวาดสามมิติ วัดศรีเนาวรัตน์ (ทุ่งเสี้ยว) อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

 

ภาพวาดสามมิติ หมู่บ้านดง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่

 

วิดิทัศน์

 

ภาพวาดสามมิติ ชุมชนบ้านดอนไชย อ.เวียงสา จ.น่าน

 

วิดิทัศน์

 

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สามารถสืบค้นและดาวน์โหลด ที่นี่

 

 

 

 

 

 

Administrator / ข่าว

Administrator / ภาพ

ข่าวงานวิจัย