การสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมในล้านนา

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 28 ธันวาคม 2563

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 6 คน 

การสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมในล้านนา (The Critical of Buddhist art in Lanna)   โดย ผศ.ดร.เทวัญ เอกจันทร์, ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์, ผศ.ดร.สมบูรณ์ ตาสนธิ, ดร.ประดิษฐ์ ปัญญาจีนและ ดร.จิตรเทพ ปิ่นแก้ว   งานวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะทำการศึกษาการสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมในล้านนา การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพุทธศิลปกรรมในล้านนา (๒) เพื่อเสริมสร้างความรู้ทางพุทธศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชน ๘ จังหวัดภาคเหนือ และ (๓) เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมล้านนา ในการส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาคุณภาพศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  โดยการศึกษาศิลปกรรมในล้านนา ใน ๘ จังหวัดภาคเหนือตอนบน ผลของการศึกษา พบว่า ประวัติความเป็นมาของพุทธศิลปกรรมในล้านนา เกิดขึ้นเมื่อได้รับอิทธิพลการเผยแผ่เข้ามาของพระพุทธศาสนา จำแนกออกเป็นแต่ละยุคดังนี้ ยุคที่ ๑ พระพุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรหริภุญชัย ก่อนที่พระพุทธศาสนาจะเผยแผ่เข้ามาในล้านนา ชนพื้นเมืองนับถือคติความเชื่อแบบวิญญาณนิยม มีการสร้างบ้านแปงเมืองโบราณ เช่น เวียงเจ็ดลิน ต่อมาได้มีการสถาปนาอาณาจักรหริภัญชัยขึ้น โดยได้รับอิทธิพลทางพุทธศิลปะแบบหินยานจากอาณาจักรละโว้ (ลพบุรี) ยุคที่ ๒ พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรเชียงแสน ศิลปะสมัยเชียงแสน – โยนก  เรียกตามชื่อเมืองโยนกเชียงแสน ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงท้องที่อำเภอเชียงแสนจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลจากศิลปะทวาราวดี และละโว้ (ลพบุรี) เป็นการผสมผสานกันของพุทธศิลปะแบบมหายาน ทำให้ศิลปะแบบโยนก-เชียงแสน ได้รับอิทธิพลแบบผสผสาน ยุคที่ ๓ พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยอาณาจักรล้านนา ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ถึง ๒๑ โดยพญามังราย ได้สถาปนาเมืองเชียงใหม่ขึ้น และมีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดทั้งทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม และยุคที่ ๔ พุทธศิลปกรรมล้านนาสมัยปัจจุบัน สมัยเมืองประเทศราช และเมืองขึ้นของสยาม ศูนย์กลางอำนาจเดิมยังคงอยู่ที่เชียงใหม่ แต่ในยุคนี้ มีความหลากหลายทางด้านรูปแบบและคงเอกลักษณ์เป็นงานศิลปะแบบพื้นถิ่น ศิลปะพม่า จีน ไทย และมีความหลากหลายทั้งทางด้านรูปแบบ วัสดุ และงานประดับ การเสริมสร้างความรู้ทางพุทธศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชน เขตภาคเหนือ พบว่า อัตลักษณ์ของพุทธศิลปกรรมในล้านนาที่มีคุณค่าเชิงศิลปะและการออกแบบ เป็นอัตลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม สามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานสู่การออกแบบในรูปแบบต่างๆ ได้จึงได้มีแนวคิดในการนำพุทธศิลป์ล้านนา ที่มีรูปแบบที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวมีความวิจิตรงดงาม ซึ่งเป็นความงดงามที่แสดงถึงอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของล้านนาโดยใช้แบบอย่างรูปร่าง รูปทรงจากสิ่งของเครื่องใช้ เครื่องสักการะโบราณต่างๆ เพื่อเป็นการนำเสนอเผยแพร่พุทธศิลปกรรมแบบล้านนาในรูปแบบต่างๆ ดังนี้ จิตรกรรม ประติมากรรมสถาปัตยกรรม โดยการเสริมสร้างความรู้ทางพุทธศิลปกรรมล้านนา แก่เยาวชน นิสิต นักศึกษา และชุมชนเขตภาคเหนือ ทั้งในด้านจิตรกรรม มีหลายสกุล เช่น สกุลช่างเชียงใหม่ สกุลช่างไทใหญ่ สกุลช่างน่าน  ประติมากรรม มีความนิยมในการสร้างพระพุทธปฏิมาก็แพร่หลาย จากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น อาทิ  ไม้ ดิน หิน และทองคำ พระพุทธรูปในล้านนาที่ปรากฏเป็นที่รู้จักในฐานะพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง และสถาปัตยกรรม คือ การสร้างพระเจดีย์ การประดับตกแต่งด้วยปูนปั้น โลหะ ส่วนวิหาร  หอไตร  และอุโบสถนั้น มักใช้ไม้เป็นองค์ประกอบองค์ความรู้พุทธศิลปกรรมล้านนาในการส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาคุณภาพศิลปะ และการสร้างเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ มีกิจกรรม ดังนี้ ๑. กิจกรรมสร้างสรรค์ผลงานศิลปกรรมล้านนาวิถีใหม่ จากการศึกษาค้นคว้าศิลปกรรมในอดีต โดยการใช้มุมมองของทีมงานวิจัย และศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานลายเส้นที่ได้จากการระดมความคิดแสวงหาการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมล้านนาใหม่ ได้แก่ ลายบัว ลายกรวยเชิง ๒. กิจกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้หรือถอดบทเรียนพุทธศิลป์ จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การส่งเสริมการศึกษาการพัฒนาคุณภาพงานพุทธศิลป์ ในการสร้างสรรค์แบบร่วมสมัยที่เกิดจากการสังเคราะห์ ที่มีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สำคัญของล้านนาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน ๓. กิจกรรมขยายเครือข่ายและเผยแพร่พุทธศิลป์สู่สังคม เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ร่วมกันจากการระดมความคิด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ร่วมกันระหว่างเครือข่ายทีมงานวิจัย นิสิต นักศึกษา นักเรียน พระสงฆ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ และเครือข่ายอื่นๆ ทำให้การสร้างพื้นที่ในการเรียนรู้ของเครือข่ายการสร้างสรรค์งานพุทธศิลปกรรมล้านนา อีกประการหนึ่ง เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่เรียกว่า “พุทธศิลป์ล้านนา”



วีดิทัศน์นำเสนอผลงานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์


เอกสารชุดความรู้ออนไลน์


เอกสารประกอบผลงานวิจัยการนำไปใช้ประโยชน์

 

 

 

 

 

 

administration / ข่าว

administration / ภาพ

ข่าวงานวิจัย