การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ของชุมชนต้นแบบ (Knowledge Center) ในสังคมไทย

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 29 ธันวาคม 2563

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 7 คน 

การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ของชุมชนต้นแบบ (Knowledge Center)  ในสังคมไทย โดย พระครูปลัดณัฐพล จนฺทิโก (ประชุณหะ), ดร., ดร.เดชา ตาละนึกและ ดร.พัลลภ หารุคำจา เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ (Knowledge Center) เชิงสร้างสรรค์ของวัดต้นแบบในรูปแบบสื่อสารสนเทศ โดยนิสิตคณะพุทธศาสนา สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ชั้นปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๓ มีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากผลการดำเนินงานของโครงการจัดนิทรรศการวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาแนวคิดการออกแบบและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ ของชุมชนในเขตเมือง ๒) เพื่อพัฒนานวัตกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนต้นแบบโดยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ในยุค ๔.๐ ๓) เพื่อประเมินและนำเสนอศูนย์การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ของชุมชนต้นแบบในสังคมไทย การพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ของชุมชนต้นแบบในสังคมไทย ๓ พื้นที่ คือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านประวัติศาสตร์ชุมชน ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา และการปฏิบัติธรรมตามแนวสติปัฏฐานสี่ การวิจัยนี้ มีรูปแบบเป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development: R&D) และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research: AR) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน ๒๐ รูป/คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลร่วมประเมินความพึงพอใจจำนวน ๑๘๐ รูป/คน ใช้เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก  แบบประเมินความพึ่งพอใจ ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ๑) แนวคิดการออกแบบและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ชุมชนในเขตเมือง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ให้แนวคิดการออกแบบการพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ การสร้างเว็บไซต์บน Google Sites การออกแบบและพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ นวัตกรรมชุดความรู้ ๒) การพัฒนาพื้นที่และนวัตกรรมชุดความรู้เชิงสร้างสรรค์ บนเว็บไซต์ด้วยโปรแกรม Google Sites บรรจุชุดความรู้แบบ E-Book เรียนรู้จากการสแกน QR-Code ผลการศึกษา ได้พื้นที่และนวัตกรรมชุดความรู้ชุมชนต้นแบบในสังคมไทยในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมแห่งการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ๓) ผลการประเมินความพร้อม การบริการ การให้ความรู้ ของพื้นที่เรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านประวัติศาสตร์ชุมชน อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔.๒๕ พื้นที่ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔.๒๐ พื้นที่การปฏิบัติธรรม อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ ๔.๑๙ จึงนำเสนอศูนย์เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ชุมชนต้นแบบในสังคมไทย

วีดิทัศน์นำเสนอผลงานวิจัยนำไปใช้ประโยชน์


เอกสารชุดความรู้ออนไลน์


ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านประวัติศาสตร์ชุมชน วัดสวนดอก พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่


ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง จังหวัดเชียงใหม่


ศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นแบบด้านการปฏิบัติธรรม วัดร่ำเปิง (ตโปทาราม) จังหวัดเชียงใหม่


เอกสารประกอบผลงานวิจัยการนำไปใช้ประโยชน์

 

 

administration / ข่าว

administration / ภาพ

ข่าวงานวิจัย