Buddhist Art of Painting Contemporary

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 31 กรกฎาคม 2564

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 6 คน 

การบูรณาการกับงานวิจัยเรื่อง “การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มทางธรรมเนียมประเพณีล้านนาร่วมสมัย” ในรายวิชาทฤษฎีสี / วิชาจิตรกรรรมฝาผนัง/ วิชาพุทธจิตรกรรม ของ ผศ.ปฏิเวธ เสาว์คง และคณะ จากผลการดำเนินงานของโครงการส่งเสริมศิลปะพื้นบ้านบนลานมหาวิทยาลัย โดยมีนิสิตนักศึกษาสาขาวิชาพุทธศิลปกรรม คณะพุทธศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ ถึงชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ จำนวน ๑๐๐ รูป/คน เข้าร่วมกิจกรรม ณ สถานที่สร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัย วิหารเจ้าดารารัศมี ณ วัดพระพุทธบาทสี่รอย ต.สะลวง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ พระองค์ที่ปรินิพพานมาแล้วในภัทรกัลป์นี้ ในการสร้างงานจิตรกรรมฝาผนังชุดนี้ ใช้ทองคำเปลว สีอะครีลิค ผสมสีฝุ่น บนผนังพระวิหาร จำนวน ๔ ด้าน มีรายละเอียดของขนาดดังนี้ ๑. ผนังหลังพระประธาน ๑ ด้าน ขนาด ๔.๕ ม. x ๘ ม. รวม ๓๖ ตร.ม. (เทคนิคผู้วิจัย) ๒. ผนังด้านข้างทิศเหนือ ขนาด ๔.๕ ม. x ๗.๕ ม. รวม ๓๓.๗๕ ตร.ม. ๓. ผนังด้านข้างทิศใต้ ขนาด ขนาด ๔.๕ ม. x ๗.๕ ม. รวม ๓๓.๗๕ ตร.ม. ๔. ผนังด้านตรงข้ามพระประธาน ขนาด ๔.๕ ม. x ๘ ม. รวม ๓๖ ตร.ม. รวมทั้งสิ้น ประมาณ ๑๔๐ ตร.ม. (ยังไม่ตัดช่องหน้าต่าง ๖ บาน ประตูทางเข้าและแท่นแก้วพระ ประธาน) - เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ จะมีการจัดวางภาพจะไม่มีช่องกันในภาพ แต่จะเป็นการ รวบรวมร้อยเรียงเรื่องราวให้เป็น ๑ เดียว ในเรื่องประเพณีไทยล้านนา - เนื้อหามีความเกี่ยวเนื่องกับคัมภีร์พระเจ้าเลียบโลก เรื่องอดีตชาติพระเจ้าห้าพระองค์กับ ประทับรอยพระพุทธบาท เนื้อเรื่องโดยรวมจะเป็นประเพณี ๑๒ เดือน ของชาวล้านนาร่วมสมัยปัจจุบัน มีการถ่ายทอดตัว ละครแบบปัจจุบัน โดยการใช้เทคนิคลายคำโบราณมาผสมผสานกับศาสตร์ใหม่ทางศิลปะ - การนำเสนอลักษณะรูปแบบลายคำร่วมสมัย โดยการนำเอาการจัดวางองค์ประกอบศิลป์แบบ สากลมาประยุกต์ใช้กับเทคนิคลายคำโบราณ มีการจัดวางน้ำหนักของสีพื้น-เข้มอ่อน เกิดเป็นมิติของสีที่ น่าสนใจ และการใช้เฉดสีทองที่มีความหลากหลาย ความเข้ม อ่อน ตื้น ลึก หนา บาง ของสีทอง ให้เกิดมิติ ที่น่าสนใจ เพิ่มการมองเห็นด้วยอารมณ์มีส่วนร่วม - เนื้อหาจากคัมภีร์โบราณ พระเจ้าเลียบโลกเกี่ยวเนื่องกับเรื่องการประทับรอยพระพุทธบาทและ เนื้อหาประเพณี ๑๒ เดือนแบบปัจจุบัน โดยการน าภูมิทัศน์ของชุมชน วิถีชีวิตชุมชนมาสอดแทรก ถ่ายทอด ในผลงานจิตรกรรมลายคำร่วมสมัย เพื่อให้ชุมชนตระหนักรู้รักในความสำคัญของพื้นที่ เป็นแหล่งเผยแพร่ เรียนรู้ของชุมชนต่อสาธารณะชนได้อย่างกว้างขว้าง           หลังจากนั้น จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากการเข้ามาอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ทางด้านศิลปกรรมชุมชน ของนิสิตนักศึกษา ในภาพรวม ในการแสดงความคิดเห็นแล้วนำมาวิเคราะห์ร่วมกันในการสร้างชุดองค์ความรู้ใหม่ (นวัตกรรมทางการศึกษาศิลปะร่วมสมัย)           ขณะนี้ อยู่ระหว่างการดำเนินงานสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มทางธรรมเนียมประเพณีล้านนา ในศาสนสถานสำคัญของชุมชนแบบฉบับล้านนาสู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย มีประชาชน นักท่องเที่ยวเข้าชมงาน อย่างต่อเนื่อง

 

 

 

 

 

 

administration / ข่าว

administration / ภาพ

ข่าวงานวิจัย