
กลไกการพัฒนาและสร้างเครือข่ายการยกระดับการจัดการศึกษาอาชีววิถีพุทธที่เป็นเลิศสำหรับการเรียนรู้ยุคชีวิตวิถีใหม่
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 10 มีนาคม 2566
ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 173 คน
รศ.ดร.วรวิทย์ นิเทศศิลป์ และคณะ ได้ดำเนินการการวิจัยย่อยที่ 5 เรื่อง กลไกการพัฒนาและยกระดับการจัดการศึกษาอาชีววิถีพุทธที่เป็นเลิศสำหรับการเรียนรู้ยุคชีวิตวิถีใหม่ ภายใต้แผนงานวิจัย เรื่อง กลไกการพัฒนาและสร้างเครือข่ายการยกระดับการจัดการศึกษาอาชีววิถีพุทธที่เป็นเลิศสำหรับการเรียนรู้ยุคชีวิตวิถีใหม่ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2565 ภายใต้การกำกับของสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อการสังเคราะห์และถอดบทเรียนวิทยาลัยอาชีววิถีพุทธต้นแบบในประเทศไทย 2. เพื่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้อาชีพและทักษะอนาคตสำหรับวิทยาลัยอาชีวะและเทคนิคยุคชีวิตวิถีใหม่ 3. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาวิธีพุทธที่เป็นเลิศสำหรับการเรียนรู้ยุคชีวิตวิถีใหม่ 4. เพื่อสร้างเครือข่ายการยกระดับการจัดการศึกษาอาชีววิถีพุทธที่เป็นเลิศสำหรับการเรียนรู้ยุคชีวิตวิถีใหม่ 5. เพื่อสร้างกลไกการพัฒนาและยกระดับการจัดการศึกษาอาชีววิถีพุทธที่เป็นเลิศสำหรับการเรียนรู้ยุคชีวิตวิถีใหม่
งานวิจัยนี้ ได้นำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ โดยการจัดกิจกรรมฝึกอบบรมและบรรยายให้ความรู้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอาชีววิถีพุทธ ณ วิทยาลัยเทคนิคคูเมือง ถนนบุรีรัมย์-พุทไธสง อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ มีรายละเอียด ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การพัฒนากลไกระดับสถานศึกษาอาชีวศึกษาจากระดับมาตรฐานสู่ระดับ Expert แนวทางกิจกรรม : ฝึกอบรม/สัมมนา ทักษะความชำนาญเชี่ยวชาญให้กับครู ปรับโครงสร้างตามเกณฑ์มาตรฐานอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ พัฒนาคุณลักษณะสถานศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอาชีวศึกษาสู่ความเป็นเลิศ กิจกรรมที่ 2 การพัฒนาเครือข่ายอาชีวศึกษาจากระดับมาตรฐานสู่ระดับ Expert แนวทางกิจกรรม : ทำ MOU กับสถานประกอบการที่เป็นภาคีเครือข่าย สัมมาแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนให้ชุมชน รู้สึกเป็นเจ้าของอาชีวศึกษา ทำ MOU กับ สถาบันการศึกษาในประเทศ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิซาการและวิชาชีพของครูและผู้เรียน กิจกรรมที่ 3 ชุดกิจกรรมเสริมหลักสูตร “ห้องเรียนอาชีพ” รูปแบบที่ 1 อบรมวิชาชีพระยะสั้น สถานศึกษา (New Normal) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น จากมาตรฐานอาชีพระดับ 1 (มัธยมศึกษาต้น) ระดับ 2 (มัธยมศึกษาปลาย) และจัดการเรียนการสอน ตามความสนใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบ Block Course ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบที่ 2 สะสมผลการเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำรายวิชาในหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ไปจัดการเรียนการสอนล่วงหน้าให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank) รูปแบบที่ 3 ร่วมพัฒนารายวิชาโรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการกาอาชีวศึกษาพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ภายใต้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา (โรงเรียนสามารถพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาได้) ในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเพื่อจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียน โดยมีการบูรณาการการสอนร่วมกันระหว่างครูและห้องเรียน/ปฏิบัติการของทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา


กิจกรรมที่ 4 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะอาชีพ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ (1) ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว (Flexibility and Adaptability) (2) การริเริ่มและการกำกับดูแลตนเองได้ (Initiative and Self-Direction) (3) ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม (Social and Cross-Cultural Skills) (4) การมีผลงานและความรับผิดชอบตรวจสอบได้ (Productivity and Accountability) (5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (Leadership and Responsibility)


กิจกรรมที่ 5 ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills หรือ 4Cs) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills หรือ 4Cs) ประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ (1) การคิดวิจารณญาณ (Critical Thinking) (2) การสื่อสาร (Communication) (3) การทำงานร่วมกัน (Collaboration) (4) การสร้างสรรค์ (Creativity)
กลุ่มงานวิจัยและคุณภาพการศึกษา สำนักวิชาการ / ข่าว
กลุ่มงานวิจัยและคุณภาพการศึกษา สำนักวิชาการ / ภาพ
ข่าวงานวิจัย
- การพัฒนาแผนงานวิจัยของมหาวิทยาลัย ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ปี 2564 (1964)
- ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนาวิชาการพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ประจำปี 2562 THE NATIONAL AND INTERNATIONAL CONFERENCE ON BHUDDHISM, ARTS & CULTURE (ICBAC, MCU.) B.E 2562/2019 (1693)
- สกสว. ร่วมกับ สอวช. ขอเชิญลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมชี้แจงระบบแผนและแนวทางการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วนภูมิภาค “ภาคเหนือ” (1647)
- The National and International Seminar on “Buddhism, Arts & Culture (NICBAC, MCU.) with the main theme of the Seminar as: “Buddhism: The Root of Multi - Cultural Society Development” (1552)
- การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชัน (Mobile Application) “วัดในบ้าน” เพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุตามหลักไตรสิกขา (1425)
- ประชุมชี้แจงแผนงานวิจัย 2564 มจร.วิทยาเขตเชียงใหม่ (1391)
- "ข้าวเป็นเจ้า" ศิลปกรรมในพื้นที่สาธารณะชุมชน ณ โป่งน้ำพุร้อนสามสี บ้านเหล่าพัฒนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (1274)
- การนำเสนอผลงานวิจัยการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ ๔ มจร วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน (MCU Nan Congress llll) (1274)
- บพท. ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรม กรอบการวิจัย Demand-supply matching platform (1257)
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับ Universiti Utara Malaysia จัดประชุมวิชาการ Joint International Education Conference 2019 (1251)