"ข้าวเป็นเจ้า" ศิลปกรรมในพื้นที่สาธารณะชุมชน ณ โป่งน้ำพุร้อนสามสี บ้านเหล่าพัฒนา อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 กรกฎาคม 2563

ประเภทงานวิจัย จำนวนผู้เข้าชม 5 คน 

พระสุธีรัตนบัณฑิต รศ.,ดร. ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย “การพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา” ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ประกอบด้วยโครงการย่อย ๔ โครงการ ของทีมคณะวิทยาเขตเชียงใหม่ ได้แก่ ๑.โครงการวิจัยย่อยที่ ๑ เรื่อง “การสังเคราะห์องค์ความรู้ศิลปกรรมในล้านนา” โดย อาจารย์ปฏิเวธ เสาว์คง, อาจารย์ธีระพงษ์ จาตุมา, นายอำนาจ ขัดวิชัย และ ดร.พรศิลป์ รัตนชูเดช ๒.โครงการวิจัยย่อยที่ ๒ เรื่อง “การสังเคราะห์องค์ความรู้พุทธศิลปกรรมในล้านนา” โดย ผศ.ดร.เทวัญ เอกจันทร์, ดร.พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์, ผศ.ดร.สมบูรณ์ ตาสนธิ, ดร.ประดิษฐ์ ปัญญาจีน และ ดร.จิตรเทพ ปิ่นแก้ว ๓.โครงการวิจัยย่อยที่ ๓ เรื่อง “การส่งเสริมและอนุรักษ์การสร้างสรรค์ศิลปะของวัดและชุมชนในกลุ่มจังหวัดล้านนา” โดย  ผศ.ดร.นพดณ ปัญญาวีรทัต, พระวุฒิชัย เสียงใหญ่, พระสถิตย์  โพธิ์หล้า และนางสาวสกุณา คงจันทร์ ๔.โครงการวิจัยย่อยที่ ๔ เรื่อง “การพัฒนาพื้นที่ศิลปะในเมืองและชุมชนของกลุ่มจังหวัดล้านนา” โดย นายภัชรบถ ฤทธิ์เต็ม และนายมานิตย์ โกวฤทธิ์ เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๓.๐๐ น.-๑๖.๐๐ น. นักวิจัยได้ลงพื้นที่ปฏิบัติการวิจัยเชิงพัฒนาและเปิดงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ  ณ โป่งน้ำพุร้อนสามสี บ้านเหล่าพัฒนา หมู่ ๒๒ ต.ป่าแดด อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ภายในงานได้มีการเสวนาเรื่อง "ข้าวเป็นเจ้า" ซึ่งเป็นชุดงานประติมากรรมที่สร้างสรรค์จากงานวิจัย โดย อาจารย์มานิตย์ กันทะสัก พระสุธีรัตนบัณฑิต กล่าวว่า กิจกรรมพัฒนาและเปิดงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะครั้งนี้ เป็นงานวิจัยภายใต้ชุดโครงการ "การพัฒนาเมืองศิลปะเชิงสร้างสรรค์ในล้านนา"  ซึ่งเป็นชุดโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ ได้สนับสนุนให้ดำเนินการใน 8 จังหวัดภาคเหนือโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง Community Art เป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยว ของชุมชน ซึ่งจังหวัดเชียงรายได้นำเสนองานศิลปะภายใต้แนวคิด "ข้าวเป็นเจ้า" เป็นศิลปะที่อยู่กับท้องทุ่งนาในตำบลป่าแดด อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายบ่งบอกถึงศิลปะกับชาวนาที่สามารถอยู่ร่วมกันได้ หลักคิดอันหนึ่งต้องการให้ศิลปะที่มีอยู่ในตัวคนไปสู่ ชุมชน วัด และพื้นที่สาธารณะ



"ข้าวเป็นเจ้า"ศิลปะประยุกต์หลักพุทธธรรมชุมชนแห่งใหม่ โป่งน้ำพุร้อนสามสี แม่สรวยเชียงราย


ดอยเวียง-ดอยวง หลักฐานโบราณคดีมนุษย์ยุคหินที่แม่สรวย

 

 

 

 

 

 

Administration / ข่าว

Administration / ภาพ

ข่าวงานวิจัย